Connect with us

Uncategorized

สตังค์ ภัตตาคารบ้านทุ่ง

Advertisement

รายการ ฅนจริงใจไม่ท้อ พาคุณผู้ชมไปพบกับเรื่องราวของ “สตังค์” หนุ่มปักษ์ใต้ ผู้ดำเนินรายการ ภัตตาคารบ้านทุ่ง

ที่ประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องใช้ใบปริญญาเป็นใบเบิกทาง แถมยังมีจิตอาสา ลุกขึ้นมาทำความดีเพื่อสังคม

สตังค์ หรือจรงศักดิ์ รองเดช ถือว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในงานด้านสื่อสารมวลชนและการผลิตรายการ จากการเป็นผู้ผลิตและผู้ดำเนินรายการ ภัตตาคารบ้านทุ่ง ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

Advertisement

แต่สิ่งที่น่าสนใจของผู้ชายคนนี้ ไม่ได้อยู่แค่ว่า เขาประสบความสำเร็จได้ทั้งที่ไม่มีต้นทุนทางสังคมอะไรเลย ไม่ว่าจะฐานะ

หน้าตา หรือการศึกษา แต่เขายังเป็นผู้ชายธรรมดาๆ คนหนึ่ง ซึ่งมุ่งมั่นทำความดี และยอมทิ้งใบปริญญา เพื่อเดินหน้าทำความดีอีกด้วย

“เป็นเด็กต่างจังหวัด เด็กปักษ์ใต้ อยู่ จ.ตรัง เรามีฐานะลำบากยากจน ครอบครัวมีลูก 7 คน เพราะงั้นเสื้อของพี่ไปโรงเรียนจะไม่เคยได้เสื้อใหม่

Advertisement

เราจะได้เสื้อมรดกจากพี่คนนั้นคนนี้ เสื้อสีขาวของพี่ มาถึงพี่จะเป็นสีเหลือง คนอื่นพ่อแม่ไปส่งโรงเรียน ของเราต้องไปเก็บน้ำยาง

ยางก็จะติดตามมือหน้าแขน เราต้องเดินไปโรงเรียน ลูกคนอื่นมีเนื้อวัวผัด ใช้กุ้งกุลา ของเรามีปลาเค็ม และไข่ต้ม” สตังค์เล่าย้อนชีวิตความยากจนในวัยเด็กให้ฟัง

หลังเรียนจบ ม.1 ที่ จ.ตรัง พี่ชายที่ จ.สุโขทัย พาไปอุปการะ จึงเรียนที่นั่นต่อจนจบ ม.6 พร้อมช่วยงานบ้านพี่ชาย เรียกได้ว่า งานที่แม่ศรีเรือนควรจะทำ สตังค์ทำเป็นหมด

Advertisement

หลังจบ ม.6 สตังค์ได้เข้ากรุงเทพฯ และตัดสินใจที่เรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อจะได้สามารถทำงานไปด้วยได้ พร้อมฝันอยากทำงานสื่อสารมวลชน

ตัดสินใจว่า งั้นพอ ไม่จำเป็นต้องมีปริญญาตรี แต่เราตั้งมั่นที่จะทำความดี ถ้าเราตั้งมั่นทำความดีอย่างเต็มกำลังแล้ว มาพิสูจน์กันว่า เมื่อพี่ไม่มีปริญญาตรี แล้วพี่จะทำความดีได้หรือเปล่า”

มื่อขอทุนใครเพื่อทำสื่อสร้างสรรค์เกี่ยวกับเยาวชนไม่ได้ คุณสตังค์จึงกลับมาคิดใหม่ว่า ตนเองมีความสามารถอะไรมากที่สุด แล้วก็พบคำตอบว่า คือการผลิตสารคดี และนั่น จึงเป็นที่มาของรายการ “ภัตตาคารบ้านทุ่ง”

Advertisement

รายการนี้นำเสนอวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของพ่อแม่พี่น้องทุกภูมิภาค คนที่ได้ประโยชน์คือคนที่รักในวิถีของการอาศัยอยู่กินพึ่งพาธรรมชาติ และยังต้องการเรียนรู้เรื่องราวภูมิปัญญา

คือบุคคลเป้าหมายหลักที่เราอยากให้เขารู้ คือคนที่ยังสนใจเรื่องสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ความเชื่อ สิ่งแวดล้อม โภชนาการ สมุนไพร หรือเรียกง่ายๆ

ว่า จิตวิญญาณของการเป็นมนุษย์ มิใช่สักแต่กิน แต่สิ่งที่คุณจะกิน มีรากเหง้า มีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่คุณเรียนรู้ผ่านวัฒนธรรมการกินได้

Advertisement
Advertisement

error: Content is protected !!